วิธีการฝึกภาษา
1. เขียนแรงบันดาลใจ ว่าเราจะฝึกไปทำไม
เพื่อให้เรามี เป้าหมายในการทำทุกวัน
เพราะการฝึกภาษา ไม่ได้ใช้เวลา เดือน 2 เดือนถึงจะสามารถเก่งได้
จะได้ใช้เวลาหลายเดือนจนเป็นปี เลยจะต้องหา แรงบันดาลใจเพื่อให้เรา
เดินไปได้ตลอดเส้นทาง
2. ตั้งเป้าหมายซอยย่อยเป็น
รายเดือน รายสัปดาห์และรายวัน
ว่าเราจะเรียนกี่วันต่อสัปดาห์ จะท่องศัพท์ได้เท่าไหร่ จะดูหนัง ฟังเพลงเรื่องอะไร
เขียนลงไป เพื่อให้เราไม่ต้องเสียเวลามานั่งคิดแต่ละวัน
ประหยัดเวลา และในแต่ละวันเราแค่ฝึกตามที่เราเตรียมไว้ เท่านั้น
3. จัดเวลาสำหรับเรียนภาษาของเราลงไปในตารางเวลาเลย
ไม่ต้องหักโหมหลายชั่วโมง แต่ต้องเป็นเวลาน้อยๆที่สามารถทำได้ทุกวัน
เช่นวันละ 30 – 45 นาที และล็อคเวลานั้นๆไว้สำหรับการฝึกฝนเป็นประจำ
และอย่าลืม Tracking ว่าเราสามารถ
ทำต่อเนื่องได้มากน้อยแค่ไหน
4. ฝึกทักษะ ฟังพูดอ่านเขียนทุกวัน
ในแต่ละวัน ให้เราฝึกทักษะทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน
โดยสามารถฝึกได้จากการดูหนัง ฟังเพลง อ่านบทความต่างๆ
และหมั่นจดศัพท์ที่เราเจอในชีวิตประจำวัน
(ควรจดคำศัพท์ด้วยการเขียนห้ามพิมพ์)
และ Tracking ทุกวัน ว่าเราสามารถทำได้
ทุกวันตามที่เราวางแผนไว้หรือไม่
5. เลือกคำศัพท์ที่เราชอบที่สุด
ที่ได้จากการดูหนัง ฟังเพลง อ่านบทความหรือเจอในชีวิตประจำวัน
ออกมาอย่างละ 1 คำ
เพื่อให้เป็นคำศัพท์ประจำวัน (วันละ 4 คำ)
พร้อมหาความหมายของแต่ละคำด้วย
และสามารถหารูปประกอบเพื่อให้เราจำมันได้มากขึ้นได้เช่นกัน
นำคำศัพท์ที่เลือก มาแต่งประโยคคำละ 1 ประโยค
หรือหาตัวอย่างประโยคที่มีคำศัพท์คำนั้น จะทำให้เราสามารถจำศัพท์เหล่านี้ได้ขึ้นใจ
เราแค่จำคำศัพท์ได้วันละ 4 คำ 1 เดือนเราจะได้ศัพท์ 120 คำ
ในงานวิจัยเค้าบอกไว้ว่า เพียงคุณรู้คำศัพท์ 1200 คำ
ก็เป็น 90% ของบทสนทนาของภาษานั้นๆแล้ว
ดังนั้นถ้าคุณตั้งใจทำทุกวัน เป็นเวลา 10 เดือน
คุณก็สามารถพูดภาษานั้นๆได้
ทำทุกวันให้เป็นนิสัย (3 เดือน)
เราจะต้องฝืนบ้าง แต่ถ้าเราทำทุกเรามันจะกลายเป็นนิสัยของเรา
แล้วเราจะกลายเป็นคนที่เก่งภาษานั้นๆเอง
แล้วคุณจะกลับมาขอบคุณตัวเอง
วิธีการฝึกเรียนภาษาจากหนัง
เลือกหนังที่ต้องการฝึก และแบ่งดูหนังเป็นทีละช่วง
ถ้าเป็นมือใหม่ให้ แบ่งเพียง 2-3 นาที แต่ถ้าพอมีพื้นฐานบ้างให้ดู 5-10 นาที ต่อวัน
(อย่าลืมว่าเรากำลังจะฝึก เราไม่ได้จะดูหนังเพื่อความบันเทิง)
- รอบแรก ดูแบบเปิด sub ไทย เพื่อดูความหมายคร่าวๆ
- รอบสอง ดูแบบปิด sub ตั้งใจฟังว่าได้ยินอะไรบ้าง
- รอบสาม (ยังคงปิด sub) ดูแล้วหยุดทีละประโยค และจดตามว่าได้ยินอะไรบ้าง ถ้าไม่ทันให้เว้นไว้ยังไม่ต้องกรอกลับ
- รอบสี่ (ปิด sub) ดูแล้วหยุดทีละประโยคเหมือนเดิม แต่รอบนี้ให้เน้นตรงที่ฟังไม่ทัน ฟังแล้วลองเติมว่าได้ยินอะไร เขียนผิดไม่เป็นไร
- รอบห้า ดูรวดเดียว แล้วเช็คดูว่าที่เราจดไปครอบถ้วนหรือถูกต้องมั้ย ตามความเข้าใจของเรา
- รอบหก เปิด sub eng (หรือ sub ตามภาษาที่เราดู) เพื่อแก้ไขสิ่งที่เราฟังและจดผิด เราจะรู้ว่าเราฟังถูกหรือไม่ (ควรใช้ปากกาคนละสีในการแก้ไข)
- ลองอ่านและแปลเป็นภาษาไทย ว่าเราเข้าใจมั้ย
- รอบเจ็ด เปิด sub ไทยเพื่อเช็คว่าแปลถูกมั้ย
- จดคำศัพท์ที่เราสนใจ หรือเราไม่รู้มาก่อนออกมา
- รอบแปด เปิดหนังและฝึกพูดออกเสียงตามหนังทีละประโยค ตรงไหนที่ออกเสียงยากให้ฝึกซ้ำๆ
- รอบเก้า ดูแล้วพูดตามไปด้วย ฝึกไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าฟังง่ายขึ้น
วิธีการฝึกเรียนภาษาจากเพลง
การเรียนรู้จากเพลง จะทำให้เราไม่เบื่อ
เพราะเราสามารถฟังได้เรื่อยๆ
แต่ข้อควรระวังสำหรับการเรียนรู้จากเพลง
คือ สำนวนบางอย่างอาจจะไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน
เพราะเค้าจะต้องตัดมาให้อยู่ในทำนอง
แต่อย่างน้อยเราก็ได้คำศัพท์ใหม่ๆจากเพลง
แนะนำสำหรับมือใหม่ ควรเริ่มจากเพลงช้า ก่อน
เมื่อเราเลือกเพลงได้แล้วมาเริ่มกันเลย
- ฟังเพลง แบบตั้งใจประมาน 3-5 รอบ ให้เราอินกับเนื้อเพลง ถ้าร้องตามได้ก็ร้องตาม
- หาเนื้อเพลง เพลงนั้นใน google และลอกเนื้อเพลงลงไป โดยห้ามพิมพ์หรือ copy ให้เราเขียนลงไปเท่านั้น เพราะการที่เราเขียน มันทำให้เราจำคำศัพท์และเนื้อเพลงได้มากกว่า
- แปลความหมายของเนื้อเพลงแต่ละท่อนโดยคำศัพท์คำไหนเราไม่รู้ให้ เปิดหาความหมายทุกคำ อย่าเว้นไว้แม้แต่คำเดียว และเราจะเข้าใจความหมายเพลง และยิ่งทำให้เราอินกับเพลงมากขึ้น เพราะถ้าเราอินเราจะจำความหมายของเพลงหรือคำศัพท์ได้ดีขึ้น
- เปิดเพลง ฟังเพลง อ่านเนื้อร้อง และจินตนาการภาพในหัวให้ตรงกับความหมายของเนื้อเพลง เป็นการฝึกการคิดภาษาอังกฤษให้เป็นภาพโดยไม่ต้องแปลออกมาเป็นภาษาไทย
- เปิดเพลงโดยไม่ต้องดูเนื้อร้อง แต่ตั้งใจให้ร้องตามให้ได้ โดยนึกภาพความหมายของเพลงนั้นไปด้วย
เพียงเท่านี้ เราสามารถอินไปกับเพลงที่เราชอบ
พร้อมกับจำความหมายของมันได้ดียิ่งขึ้นเลย ลองเอาไปฝึกกัน
วิธีฝึกภาษาจากบทความ
เริ่มจากเปลี่ยน mind set ที่อย่ากลัวบทความภาษายาวๆ ที่เห็นแล้วตกใจ
เพราะเราจะค่อยๆตั้งใจอ่านไปทีละคำ และเรามี dict.
ยังไงเราก็อ่านได้ เพราะฉะนั้น อย่าไปกลัว
จากนั้นให้เรา เลือกอ่าน จากเรื่องที่เราสนใจจริงๆ
หรือใกล้ตัวของเรา
เช่นถ้าคุณเป็นคนที่ชื่อชอบเรื่องฟุตบอล
ก็ให้หาเรื่องเกี่ยวกับฟุตบอลมาอ่าน
ถ้าชอบเรื่องแฟชั่นก็ให้หาเรื่องแฟชั่นมาอ่าน
(การกิน การเที่ยว ดนตรี ฯลฯ)
โดยไม่ต้องเป็นบทความที่ยาวมาก ประมานแค่ 1 หน้า
สำหรับมือใหม่ แนะนำให้เริ่มจาก นิทานเด็ก คำคม หรือ joke ของฝรั่ง
เพราะมันจะสั้นๆและไม่ยาวมาก และมีคำศัพท์ที่มันง่าย
- เมื่อเลือกมาได้แล้วให้เรามาจด โดยการเขียน ห้ามพิมพ์ เพราะการเขียนจะทำให้เราได้เห็นคำศัพท์และรูปประโยค
- ให้เราหาเรื่องย่อของบทความที่เราจะอ่านก่อน ถ้าเป็นจากหนังสือให้เราอ่านเรื่องย่อของหนังสือเล่มนั้น เพื่อให้เราเข้าใจเนื้อหาคร่าวๆ หรือถ้าเป็นบทความจากเว็บ ให้เราลองหาคำศัพท์ที่เป็น keyword ของบทความนั้นๆก่อน เราจะได้เห็นภาพรวมและการอ่านของเราจะเข้าใจมากขึ้น(หรือถ้าเรื่องๆนั้นเราเคยรู้เรื่องราวเป็นภาษาไทยมาก่อนคร่าวๆแล้ว จะยิ่งดีมากขึ้น)
- ลองอ่านสิ่งที่เราเพิ่งเขียนไป แล้วขีดเส้นหรือทำสัญลักษณ์บนคำศัพท์ที่เราไม่สามารถแปลได้ หรือประโยคที่เราไม่เข้าใจ
- ขณะที่เราอ่าน ลองเดาจากบริบทดู ว่าคำศัพท์หรือประโยคนั้นควรจะมีความหมายว่าอะไร โดยที่ยังไม่ต้องเปิด dict. ให้เราอ่านทั้งหมด และพยายามจับใจความของบทความนั้นให้ได้ พยายามลองคิดดูว่าผู้เขียนต้องการสื่อถึงอะไร เข้าใจประมาน 50-60% ก็โอเคแล้ว(เพราะถ้าเราอ่านไปเปิดคำแปลไป เราจะได้ศัพท์เป็นคำๆ และเรื่องราวจะไม่ปะติดปะต่อกัน ให้เราอ่านทำความเข้าใจทั้งหมดก่อน)และถ้าเรารู้เรื่องย่อมาบ้างแล้วเราก็จะพอเดาเรื่องราวของบทความได้ดีมากขึ้น
- พออ่านจบและพอเดาความหมายแล้ว ค่อยมาเปิดความหมายของศัพท์ที่เราไม่เข้าใจ ว่าเราสามารถเดาคำศัพท์คำนั้นได้ถูกต้องหรือไม่
- รอบสุดท้าย ให้เราอ่านออกเสียง ไม่ต้องเขินและอายว่าสำเนียงจะไม่ดี เพราะเราอ่านอยู่คนเดียว การอ่านออกเสียงช่วยให้เราโฟกัสกับสิ่งที่เราอ่านมากขึ้นนั่นเอง
เป็นกำลังใจให้ทุกคนสำหรับคนที่กำลังฝึกภาษากันนะคะ